ยินดีต้อนรับ

.ยินดีต้อนรับสู่บล๊อกของผมครับ

วันเสาร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

0 ความคิดเห็น
เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับครู
ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ (InformationTechnology)
  สารสนเทศ (Information) หมายถึงข่าวสารที่ได้จากการนำข้อมูลดิบ (Raw Data) มาคำนวณทางสถิติหรือประมวลผลอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึงข่าวสารที่ได้ออกมานั้นจะอยู่ในรูปที่สามารถนำไปใช้งานได้ทันที (วาสนา สุขกระสานติ 2541: 6-1)
  เทคโนโลยี หมายถึง วิทยาการที่เกี่ยวกับศิลปะในการนำเอาวิทยาศาสตร์ประยุกต์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ทางปฏิบัติและอุตสาหกรรม (พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน 2539: 406)
  เทคโนโลยีสารสนเทศ มาจากภาษาอังกฤษว่า Information Technology และมีผู้นิยมเรียกทับศัพท์ย่อว่า IT ซึ่งสุชาดา กีรนันท์ (2541: 23) ให้ความหมายว่า หมายถึง เทคโนโลยีทุกด้านที่เข้ามาร่วมในกระบวนการจัดเก็บ สร้าง และสื่อสารสนเทศ  (วาสนา สุขกระสานติ 2541: 6-1) กล่าวถึงความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศว่า หมายถึงกระบวนการต่างๆ และระบบงานที่ช่วยให้ได้สารสนเทศตามที่ต้องการ ลูคัส (Lucas, Jr. 1997: 7) กล่าวว่า เทคโนโลยีสารสนเทศจะอ้างถึงเทคโนโลยีทุกชนิดที่ประยุกต์เพื่อใช้ในการประมวลผลจัดเก็บ และส่งผ่านสารนิเทศต่างๆ ให้อยู่ในรูปของสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีหลักสองสาขา คือ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม โดยทั่วไปหมายถึง เทคโนโลยีที่ใช้สำหรับการสร้าง การจัดการ การประมวลผลข้อมูลให้เป็นข้อสนเทศ การเก็บบันทึกข้อมูลเป็นฐานข้อมูล และส่งผ่านสารสนเทศจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง ตลอดจนเทคโนโลยีทั้งหลายที่เกี่ยวเนื่องกบการแสดงสารสนเทศโดยใช้ระบบดิจิตอล (ชุนเทียม ทินกฤต, 2540)
  ข้อมูล (Data) มีความหมายแตกต่างจากสารสนเทศ (Information) หรือสารนิเทศ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ได้ให้คำจำกัดความคำว่า ข้อมูล หมายถึง ข้อเท็จจริงหรือสิ่งที่ถือ หรือยอมรับว่าเป็นข้อเท็จจริง สำหรับใช้เป็นหลักอนุมานหาความจริง หรือการคำนวณ ข้อมูลจึงมักมีความหมายในลักษณะที่เป็นข้อมูลดิบ (Raw Data) เรียกได้ว่าเป็นสิ่งที่ได้จากการสังเกต ปรากฏการณ์การกระทำหรือลักษณะต่างๆ ของวัตถุ สิ่งของ คน สัตว์หรือพืชแล้วบันทึกไว้เป็นตัวเลข สัญลักษณ์ ภาพ หรือเสียง
การสื่อสาร คือกระบวนการสำหรับแลกเปลี่ยนสาร รูปแบบอย่างง่ายของสาร คือ จะต้องส่งจากผู้ส่งสารหรืออุปกรณ์เข้ารหัส ไปยังผู้รับสารหรืออุปกรณ์ถอดรหัส
   การสื่อสาร  หมายถึง  การติดต่อระหว่างมนุษย์ด้วยวิธีต่าง ๆ  ซึ่งทำให้ฝ่ายหนึ่งรับรู้ความหมายจากอีกฝ่ายหนึ่ง และ เกิดการตอบสนอง ปัจจุบันการสื่อสารมีมากมายหลายวิธี อาจเป็น วิทยุ  โทรทัศน์  หนังสือพิมพ์  โทรศัพท์มือถือ  ดาวเทียม  ระบบโทรคมนาคม หรือ การสื่อสารระบบเครือข่ายที่อาศัยดาวเทียมและสายเคเบิลใยแก้ว เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อินเตอร์เน็ท  ก็ได้
ความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีสารสนเทศกับเทคโนโลยีการสื่อสาร
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication Technologies –ICT) เกิดจาก การทำงานส่วนหนึ่งของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีการใช้เทคโนโลยีการสื่อสารเพื่อให้ได้ข้อมูลสารสนเทศที่สมบูรณ์ ถูกต้อง รวดเร็ว ตามความต้องการของผู้ใช้งานแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศไทย พ.ศ. 2545-2549 ได้กำหนดความหมายของ ICT ดังนี้
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หมายถึง เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับข่าวสาร ข้อมูล และการสื่อสาร นับตั้งแต่การสร้าง การนํามาวิเคราะห์หรือประมวลผลการรับและส่งข้อมูล การจัดเก็บ และการนําไปใช้งานใหม่ เทคโนโลยีเหล่านี้ มักจะหมายถึงคอมพิวเตอร์ ซึ่งประกอบด้วยส่วนอุปกรณ์ (hardware) ส่วนคําสั่ง (software) และส่วนข้อมูล (data) และระบบการสื่อสารต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์ ระบบสื่อสารข้อมูล ดาวเทียม หรือเครื่องมือสื่อสารใดๆ ทั้งมีสายและไร้สาย
ความหมายของคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์ (Computer) คือ อุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic device) ที่มนุษย์ใช้เป็นเครื่องมือในการจัดการกับข้อมูล (Data) ทั้งตัวเลข ตัวอักษร หรือสัญลักษณ์อื่นที่ใช้แทนความหมายในสิ่งต่าง ๆ โดยปฏิบัติงานภายใต้การควบคุมของชุดคำสั่งที่อยู่ในหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์เอง เพื่อทำการคำนวณและแสดงผลลัพธ์ออกทางอุปกรณ์แสดงผล โดยที่ผลลัพธ์เหล่านี้จัดว่าเป็นข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลและเรียบเรียงแล้ว จะเรียกผลลัพธ์นี้ว่า "สารสนเทศ (Information)"
องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ
1. ฮาร์ดแวร์(เครื่องจักรอุปกรณ)์
2. ซอฟต์แวร์
3. ข้อมูล
4. บุคลากร
ฮาร์ดแวร์ (Hardware) หมายถึง สิ่งที่มองเห็นและจับต้องสัมผัสได้ทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ (Case) เมนบอร์ด (Mainboard) และอุปกรณ์ต่อพ่วงรอบข้าง (Peripheral) ที่เกี่ยวข้อง เช่น ฮาร์ดดิสก์ แป้นพิมพ์ เม้าส์ หน่วยประมวลผลกลาง จอภาพ เครื่องพิมพ์ และอุปกรณ์อื่น ๆ ฮาร์ดแวร์จะไม่สามารถทำงานด้วยตัวเองเดี่ยว ๆ ได้ จะต้องนำมาต่อเชื่อมเพื่อทำงานร่วมกันเป็นระบบที่เรียกว่า "ระบบคอมพิวเตอร์ (Computer System)" ที่มีโครงสร้างของระบบจะทำงานตามโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ที่เขียนขึ้น
ซอฟต์แวร์ (Software) หมายถึง โปรแกรม (program) หรือชุดคำสั่งที่ควบคุมให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ ซึ่งคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ที่ประกอบออกมาจากโรงงานจะยังไม่สามารถทำงานได้ในทันที ต้องมีซอฟต์แวร์ซึ่งเป็นโปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่สั่งให้ฮาร์ดแวร์ทำงานตามต้องการได้ โดยโปรแกรมหรือชุดคำสั่งนั้นจะเขียนจากภาษาต่าง ๆ ที่มนุษย์สร้างขึ้น เรียกว่า ภาษาคอมพิวเตอร์ (Programming Language) ภาษาใดภาษาหนึ่ง และมีโปรแกรมเมอร์ (Programmer) หรือนักเขียนโปรแกรมเป็นผู้ใช้ภาษาคอมพิวเตอร์เหล่านั้นเขียนซอฟต์แวร์แบบต่าง ๆ ขึ้นมา
ซอฟต์แวร์ สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
1)ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software) 
คอมพิวเตอร์ประกอบด้วย หน่วยรับเข้า หน่วยส่งออก หน่วยความจำ และหน่วยประมวลผล ในการทำงานของคอมพิวเตอร์จำเป็นต้องมีการดำเนินงานกับอุปกรณ์พื้นฐานที่จำเป็น ดังนั้นจึงต้องมีซอฟต์แวร์ระบบเพื่อใช้ในการจัดการระบบ หน้าที่หลักของซอฟต์แวร์ระบบประกอบด้วย
- ใช้ในการจัดการหน่วยรับเข้าและหน่วยส่งออก เช่น รับการกดแป้นต่าง ๆ บนแผงแป้นอักขระ ส่งรหัสตัวอักษรออกทางจอภาพหรือเครื่องพิมพ์ ติดต่อกับอุปกรณ์รับเข้า และส่งออกอื่น ๆ เช่น เมาส์ อุปกรณ์สังเคราะห์เสียง
  - ใช้ในการจัดการหน่วยความจำ เพื่อนำข้อมูลจากแผ่นบันทึกมาบรรจุยังหน่วยความจำหลัก หรือในทำนองกลับกัน คือนำข้อมูลจากหน่วยความจำหลักมาเก็บไว้ในแผ่นบันทึก
- ใช้เป็นตัวเชื่อมต่อระหว่างผู้ใช้งานกับคอมพิวเตอร์ สามารถใช้งานได้ง่ายขึ้น เช่น การขอดูรายการสาระบบในแผ่นบันทึก การทำสำเนาแฟ้มข้อมูล
ซอฟต์แวร์ระบบพื้นฐานที่เห็นกันทั่วไป แบ่งออกเป็น ระบบปฏิบัติการ และ ตัวแปลภาษา ซอฟต์แวร์ทั่งสองประเภทนี้ทำให้เกิดพัฒนาการประยุกต์ใช้งานได้ง่ายขึ้น
2)ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software)
ซอฟต์แวร์ที่สร้างหรือพัฒนาขึ้น เพื่อใช้งานด้านใดด้านหนึ่งโดยเฉพาะตามที่ผู้ใช้ต้องการ เช่น งานด้านการจัดทำเอกสาร การทำบัญชี การจัดเก็บข้อมูลข่าวสาร ตลอดจนงานด้านอื่น ๆ ตามแต่ผู้ใช้ต้องการ
ลักษณะสำคัญของซอฟต์แวร์ประยุกต์
การที่ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ได้พัฒนาก้าวหน้า อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะ การที่มี คอมพิวเตอร์ ขนาดเล็ก ทำให้มี การใช้งานคล่อง ตัวขึ้น จนในปัจจุบัน สามารถนำ คอมพิวเตอร์ ขนาดเล็กติดตัว ไปใช้งานใน ที่ต่างๆ ได้สะดวก
การใช้งาน คอมพิวเตอร์ ต้องมี ซอฟต์แวร์ประยุกต์ ซึ่งอาจเป็น ซอฟต์แวร์สำเร็จ ที่มีผู้พัฒนา เพื่อใช้งานทั่วไป ทำให้ทำงาน ได้สะดวกขึ้น หรืออาจเป็น ซอฟต์แวร์ ใช้งานเฉพาะ ซึ่งผู้ใช้เป็น ผู้พัฒนาขึ้นเอง เพื่อให้เหมาะสม กับสภาพการ ทำงานของตน
ในบรรดา ซอฟต์แวร์ประยุกต์ ที่มีใช้กันทั่วไป ซอฟต์แวร์สำเร็จ (package) เป็นซอฟต์แวร์ ที่มีความนิยม ใช้กันสูงมาก ซอฟต์แวร์ สำเร็จเป็น ซอฟต์แวร์ ที่บริษัทพัฒนา ขึ้นแล้วนำ ออกมาจำหน่าย เพื่อให้ผู้ใช้งานซื้อไปใช้ได้ โดยตรง ไม่ต้องเสียเวลา ในการพัฒนา ซอฟต์แวร์ อีก ซอฟต์แวร์สำเร็จ ที่มีจำหน่าย ในท้องตลาดทั่วไป และเป็นที่ นิยมของ ผู้ใช้มี 5 กลุ่มใหญ่
ประเภทของซอฟต์แวร์ประยุกต์
(1) ซอฟต์แวร์สำเร็จ (package)
  1) ซอฟต์แวร์ประมวลคำ (word processing software) เป็น ซอฟต์แวร์ประยุกต์ ใช้สำหรับ การพิมพ์เอกสาร สามารถแก้ไข เพิ่ม แทรก ลบ และจัดรูปแบบเอกสาร ได้อย่างดี เอกสารที่ พิมพ์ไว้ จัดเป็น แฟ้มข้อมูล เรียกมา พิมพ์หรือ แก้ไข ใหม่ได้ การพิมพ์ ออกทาง เครื่องพิมพ์ ก็มีรูปแบบ ตัวอักษร ให้เลือกหลาย รูปแบบ เอกสารจึงด ูเรียบร้อย สวยงาม ปัจจุบันม ีการเพิ่มขีด ความสามารถของ ซอฟต์แวร์ ประมวลคำ อีกมากมาย ซอฟต์แวร์ประมวลคำ ที่นิยม อยู่ในปัจจุบัน เช่น วินส์เวิร์ด จุฬาจารึก โลตัสเอมิโปร
  2) ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน (spread sheet software) เป็นซอฟต์แวร์ ที่ช่วยในการ คิดคำนวณ การทำงาน ของซอฟต์แวร์ ตารางทำงาน ใช้หลักการ เสมือนมีโต๊ะ ทำงานที่มีกระดาษ ขนาดใหญ่ วางไว้ มีเครื่องมือ คล้ายปากกา ยางลบ และเครื่องคำนวณ เตรียมไว้ ให้เสร็จ บนกระดาษมีช่อง ให้ใส่ตัวเลข ข้อความ หรือสูตร สามารถ สั่งให้ คำนวณ ตามสูตร หรือเงื่อนไข ที่กำหนด ผู้ใช้ซอฟต์แวร์ ตารางทำงาน สามารถประยุกต์ ใช้งานประมวลผล ตัวเลขอื่นๆ ได้กว้างขวาง ซอฟต์แวร์ ตารางทำงาน ที่นิยมใช้ เช่น เอกเซล โลตัส
  3) ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูล (data base management software) การใช้งาน คอมพิวเตอร์ อย่างหนึ่ง คือการใช้ เก็บข้อมูล และจัดการ กับข้อมูลที่ จัดเก็บใน คอมพิวเตอร์ จึงจำเป็น ต้องมี ซอฟต์แวร์ จัดการข้อมูล การรวบรวม ข้อมูลหลายๆ เรื่องที่ เกี่ยวข้องกัน ไว้ใน คอมพิวเตอร์ เราก็เรียกว่า ฐานข้อมูล ซอฟต์แวร์ จัดการฐานข้อมูล จึงหมายถึง ซอฟต์แวร์ ที่ช่วยใน การเก็บ การเรียกค้น มาใช้งาน การทำรายงาน การสรุปผล จากข้อมูล ซอฟต์แวร์ จัดการฐานข้อมูล ที่นิยมใช้ เช่น เอกเซล ดีเบส พาราด็อก ฟ๊อกเบส
  4) ซอฟต์แวร์นำเสนอ (presentation software) เป็น ซอฟต์แวร์ ที่ใช้สำหรับ นำเสนอข้อมูล การแสดงผล ต้องสามารถ ดึงดูด ความสนใจ ซอฟต์แวร์ เหล่านี้จึง เป็นซอฟต์แวร์ ที่นอกจาก สามารถแสดง ข้อความ ในลักษณะ ที่จะสื่อ ความหมาย ได้ง่ายแล้ว จะต้องสร้าง แผนภูมิ กราฟ และรูปภาพ ได้ ตัวอย่างของ ซอฟต์แวร์นำเสนอ เช่น เพาเวอร์พอยด์ โลตัสฟรีแลนซ์ ฮาร์วาร์ดกราฟิก
  5) ซอฟต์แวร์สื่อสารข้อมูล (data communication software) ซอฟต์แวร์ สื่อสารข้อมูล นี้หมายถึง ซอฟต์แวร์ ที่จะช่วยให้ ไมโครคอมพิวเตอร์ ติดต่อสื่อสาร กับเครื่อง คอมพิวเตอร์ อื่นในที่ห่างไกล โดยผ่านทาง สายโทรศัพท์ ซอฟต์แวร์ สื่อสารใช้เชื่อมโยง ต่อเข้ากับ ระบบเครือ ข่ายคอมพิวเตอร์ เช่น อินเทอร์เน็ต ทำให้สามารถ ใช้บริการอื่นๆ เพิ่มเติมได้ สามารถ ใช้รับส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ใช้โอนย้าย แฟ้มข้อมูล ใช้แลกเปลี่ยนข้อมูล อ่านข่าวสาร นอกจากนี้ยัง ใช้ในการเชื่อมเข้าหา มินิคอมพิวเตอร์ หรือเมนเฟรม เพื่อเรียก ใช้งานจาก เครื่องเหล่านั้นได้ ซอฟต์แวร์ สื่อสารข้อมูล ที่นิยม มีมากมาย หลายซอฟต์แวร์ เช่น โปรคอม ครอสทอล์คเทลิก
(2) ซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะ การประยุกต์ ใช้งานด้วย ซอฟต์แวร์สำเร็จ มักจะเน้น การใช้งานทั่วไป แต่อาจจะนำมาประยุกต์ โดยตรงกับงาน ทางธุรกิจบาง อย่างไม่ได้ เช่น ในกิจการธนาคาร มีการฝากถอนเงิน งานทางด้านบัญชี หรือใน ห้างสรรพสินค้า ก็มีงาน การขายสินค้า การออกใบเสร็จรับเงิน การควบคุม สินค้าคงคลัง ดังนั้น จึงต้องมีการ พัฒนาซอฟต์แวร์ ใช้งานเฉพาะ สำหรับงาน แต่ละประเภท ให้ตรงกับ ความต้องการ ของผู้ใช้แต่ละราย
ข้อมูล/สารสนเทศ (Data/Information)คือ ข้อมูลต่างๆ ที่เรานำมาให้คอมพิวเตอร์ทำการประมวลผลคำนวณ หรือกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งให้ได้มาเป็นผลลัพธ์ที่เราต้องการ ยกตัวอย่างเช่น ข้อมูลบุคลากรเกี่ยวกับรายละเอียดประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษาหรือ ประวัติการทำงาน ซึ่งอาจนำมาจำแนกเป็นรายงานต่างๆ เกี่ยวกับบุคลากรในหน่วยงานได้ หรือข้อมูลเกี่ยวกับตัวเลขมาตรๆ ไฟฟ้าของบ้านแต่ละหลัง ก็ใช้สำหรับคำนวณเป็นปริมาณไฟฟ้า ที่ใช้ในแต่ละเดือน แล้วคิดเป็นเงิน ที่จะต้องชำระให้กับการไฟฟ้า
บุคคลากร (Peopleware)คือ เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานต่างๆ และผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในหน่วยงานนั้นๆ บุคลากรด้านคอมพิวเตอร์นั้น มีความสำคัญมาก เพราะการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานต่างๆ นั้นจะต้องมีการจัดเตรียมเปลี่ยนระบบ จัดเตรียมโปรแกรมดำเนินการต่างๆ หลายอย่าง ซึ่งไม่สามารถทำด้วยตัวเองได้ ถ้าหากไม่ใช่ผู้ที่รู้เรื่องคอมพิวเตอร์มากนัก ดังนั้นเราจึงถือว่าบุคลากร
ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
- เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
- เทคโนโลยีสารสนเทศเปลี่ยนรูปแบบการบริการเป็นแบบกระจาย
- เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นสิ่งที่จำเป็น สำหรับการดำเนินการในหน่วยงานต่าง ๆ
- เทคโนโลยีสารสนเทศเกี่ยวข้องกับคนทุกระดับ
ประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
1.ความเร็ว  การนำระบบคอมพิวเตอร์มาใช้จะช่วยให้การทำงานมีความรวดเร็วยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการประมวลผล การค้นหาข้อมูลจะทำได้สะดวกรวดเร็ว ประหยัดเวลาในการค้นหาข้อมูล เช่น การใช้ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ
2.ความถูกต้อง คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ที่มีการประมวลผลข้อมูลที่ถูกต้อง แม่นยำ ทำให้ข้อมูลที่ได้จากการประมวลนั้นมีความผิดพลาดน้อยกว่าการประมวลผลด้วยมนุษย์
3.การเก็บบันทึกข้อมูล ข้อมูลที่เก็บบันทึกในระบบคอมพิวเตอร์จะเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีสื่อที่ใช้ในการจัดเก็บข้อมูลทำให้มีความสามารถในการจัดเก็บข้อมูลได้จำนวนมากและมีความคงทนถาวรมากกว่าการจัดเก็บข้อมูลในรูปของกระดาษ
4.การเผยแพร่ข้อมูล การรับส่งข้อมูลในปัจจุบันโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศจะทำให้การเผยแพร่ข้อมูลทำได้อย่างกว้างขวางสามารถแพร่กระจายไปได้ทั่วโลกอย่างไร้พรมแดน
ปัจจัยที่ทำให้เกิดความล้มเหลวในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้
จากงานวิจัยของ Whittaker (1999: 23) พบว่า ปัจจัยของความล้มเหลวหรือความผิดพลาดที่เกิดจากการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในองค์การ มีสาเหตุหลัก 3 ประการ ได้แก่
1.การขาดการวางแผนที่ดีพอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการวางแผนจัดการความเสี่ยงไม่ดีพอ ยิ่งองค์การมีขนาดใหญ่มากขึ้นเท่าใด การจัดการความเสี่ยงย่อมจะมีความสำคัญมากขึ้นเป็นเงาตามตัว ทำให้ค่าใช้จ่ายด้านนี้เพิ่มสูงขึ้น
2. การนำเทคโนโลยีที่ไม่เหมาะสมมาใช้งาน การนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้ในองค์การจำเป็นต้องพิจารณาให้สอดคล้องกับลักษณะของธุรกิจหรืองานที่องค์การดำเนินอยู่ หากเลือกใช้เทคโนโลยีที่ไม่สอดรับกับความต้องการขององค์การแล้วจะทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมา และเป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณโดยใช่เหตุ
3. การขาดการจัดการหรือสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูง การที่จะนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้งานในองค์กร หากขาดซึ่งความสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูงแล้วก็ถือว่าล้มเหลวตั้งแต่ยังไม่ได้เริ่มต้น การได้รับความมั่นใจจากผู้บริหารระดับสูงเป็นก้าวย่างที่สำคัญและจำเป็นที่จะทำให้การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในองค์การประสบความสำเร็จ
สำหรับสาเหตุของความล้มเหลวอื่น ๆ ที่พบจากการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ เช่น ใช้เวลาในการดำเนินการมากเกินไป (Schedule overruns), นำเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยหรือยังไม่ผ่านการพิสูจน์มาใช้งาน (New or unproven technology), ประเมินแผนความต้องการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศไม่ถูกต้อง, ผู้จัดจำหน่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ (Vendor) ที่องค์การซื้อมาใช้งานไม่มีประสิทธิภาพและขาดความรับผิดชอบ และระยะเวลาของการพัฒนาหรือนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้จนเสร็จสมบูรณ์ใช้เวลาน้อยกว่าหนึ่งปี
นอกจากนี้ ปัจจัยอื่น ๆ ที่ทำให้การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ไม่ประสบความสำเร็จในด้านผู้ใช้งานนั้น อาจสรุปได้ดังนี้ คือ
1. ความกลัวการเปลี่ยนแปลง กล่าวคือ ผู้คนกลัวที่จะเรียนรู้การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ รวมทั้งกลัวว่าเทคโนโลยีสารสนเทศจะเข้ามาลดบทบาทและความสำคัญในหน้าที่การงานที่รับผิดชอบของตนให้ลดน้อยลง จนทำให้ต่อต้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
2. การไม่ติดตามข่าวสารความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากเทคโนโลยีสารสนเทศเปลี่ยนแปลงรวดเร็วมาก หากไม่หมั่นติดตามอย่างสม่ำเสมอแล้วจะทำให้กลายเป็นคนล้าหลังและตกขอบ จนเกิดสภาวะชะงักงันในการเรียนรู้และใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
3. โครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของประเทศกระจายไม่ทั่วถึง ทำให้ขาดความเสมอภาคในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือเกิดการใช้กระจุกตัวเพียงบางพื้นที่ ทำให้เป็นอุปสรรคในการใช้งานด้านต่าง ๆ ตามมา เช่น ระบบโทรศัพท์ อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ฯลฯ
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับการเรียนการสอน
มีแนวทางการใช้มากมาย มีอยู่ 6 ประเภท
1. การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน เป็นการนำเอาคำอธิบายบทเรียนมาบรรจุไว้ในคอมพิวเตอร์ แล้วนำบทเรียนนั้นมาแสดงแก่ผู้เรียน เมื่อผู้เรียนอ่านคำอธิบายนั้นแล้ว คอมพิวเตอร์ก็จะทดสอบความเข้าใจว่าถูกต้องหรือไม่ หากไม่ถูกต้องก็ต้องมีวิธีการอธิบายเนื้อหาเพิ่มเติมให้เข้าใจมากขึ้น แล้วถามซ้ำอีก ซึ่งปัจจุบันมีการพัฒนาถึงระดับใช้สื่อประสม และใช้เทคนิคต่าง ๆ เพื่อให้การเรียนการสอนบรรลุผลสัมฤทธิ์มากขึ้น
2. การศึกษาทางไกล เทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้ในการจัดการศึกษาทางไกลมีหลายแบบ ตั้งแต่แบบง่าย ๆ เช่น การใช้วิทยุ โทรทัศน์ ออกอากาศให้ผู้เรียนศึกษาเอง ตามเวลาที่ออกอากาศ ไปจนถึงการใช้ระบบแพร่ภาพผ่านดาวเทียม หรือการประยุกต์ใช้ระบบประชุมทางไกล โดยให้ผู้สอน และผู้เรียนสามารถสื่อสารกันได้ทันทีเพื่อสอบถามข้อสงสัยหรืออธิบายคำสอนเพิ่มเติม
3. เครือข่ายการศึกษา เป็นการจัดทำเครือข่ายการศึกษา เพื่อให้ครู อาจารย์ และนักเรียน นักศึกษามีโอกาสใช้เครือข่ายเพื่อเสาะแสวงหาความรู้ที่มีอยู่อย่างมากมายในโลก และใช้บริการต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ทางการศึกษา เช่น บริการส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ การเผยแพร่ และค้นหาข้อมูลในระบบเวิลด์ไวด์เว็บ ซึ่งในปัจจุบันมีเครือข่ายสคูลเน็ต ที่เนคเทคได้ส่งเสริมให้เกิดขึ้นและมีโรงเรียนเข้าร่วมโครงการนี้ประมาณ 4.393 โรงเรียน และยังมีเครือข่ายกาญจนาภิเษกที่จัดทำขึ้น เพื่อเป็นการกระจายความรู้ให้กับประชาชนโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเข้าใช้สารสนเทศแต่อย่างใด
4. การใช้งานในห้องสมุด ในปัจจุบันห้องสมุดมหาวิทยาลัยของรัฐ และเอกชนเกือบทุกแห่ง ได้นำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการดำเนินงาน นอกจากนี้ยังส่งเสริมให้มีการร่วมมือในการให้บริการในลักษณะเครือข่าย การนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศ มาใช้ในห้องสมุด ทำให้ผู้ใช้ได้รับความสะดวก
มากขึ้น เช่น บริการยืมคืน การค้นหาหนังสือ วารสารสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ที่ต้องการได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว
5. การใช้งานในห้องปฏิบัติการ มีการนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการทำงานในห้องปฏิบัติการ ร่วมกับอุปกรณ์อื่น ๆ เช่น การจำลองแบบ การออกแบบวงจรไฟฟ้า การควบคุม การทดลอง ซึ่งอุปกรณ์ที่ทันสมัยในปัจจุบัน ต่างผนวกความสามารถของเทคโนโลยีสารสนเทศเข้าไปด้วยแทบทั้งสิ้น
6. การใช้ในงานประจำและงานบริการ เช่น การจัดทำทะเบียนประวัติของนักเรียนนักศึกษา การเลือกเรียน การลงทะเบียนเรียน การแสดงผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การแนะแนวอาชีพ และศึกษาต่อ ข้อมูลผู้ปกครองหรือข้อมูลครู ซึ่งการมีข้อมูลดังกล่าว ทำให้ครูอาจารย์สามารถติดตาม และดูแลนักเรียนได้อย่างดี รวมทั้งครูอาจารย์สามารถพัฒนาตนเองได้สูงขึ้น

วันศุกร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

แบบฝึกหัดท้ายบท

0 ความคิดเห็น
คำถามท้ายบทที่ 6
1.อินเทอร์เน็ต หมายความว่าอย่างไร
 ตอบ    อินเทอร์เน็ต (Internet) หมายถึง เครือข่ายเฉพาะส่วนขององค์การ หรือหน่วยงาน ที่นำซอฟต์แวร์ หรือฮาร์ดแวร์แบบอินเทอร์เน็ตมาประยุกต์ใช้ อินทราเน็ตจึงเป็นเครือข่าย เพื่อระบบงานภายในโดยมุ่งเน้นข้อมูลและสารสนเทศเพื่อบริการแก่บุคลากร เครือข่ายอินทราเน็ต จะต่อเชื่อมเข้าสู่อินเทอร์เน็ตด้วยหรือไม่นั้นไม่ใช่สิ่งสำคัญ แต่แนวคิดหลักของอินทราเน็ต คือ การสร้างเครือข่ายในองค์การโดยมีคอมพิวเตอร์ทำหน้าที่เป็นอินเทอร์เน็ตเซิร์ฟเวอร์เพื่อให้บริการข้อมูลในรูปแบบเดียวกับที่ใช้งานในอินเทอร์เน็ต และขยายเทอร์มินัลเครือข่ายไปยังทุกแผนก ให้บุคลากรสามารถค้นข้อมูลและสื่อสารถึงกันได้ เซิร์ฟเวอร์หลักภายในอินเทอร์เน็ต คือ เว็บเซิร์ฟเวอร์ ซึ่งใช้เป็นศูนย์บริการข้อมูลข่าวสารระบบ WWW ให้บริการข้อมูลได้ทั้งข้อความเสียง ภาพนิ่ง หรือภาพเคลื่อนไหวผ่านทางโปรแกรม Browser ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ง่ายต่อการเรียนรู้และใช้งานโปรแกรม Browser ส่วนใหญ่ได้ผนวกบริการหลักของอินเทอร์เน็ตไว้ในตัว เช่น จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) การถ่ายโอนย้ายแฟ้ม (FTP) หรือกระดานข่าย (Use Net  )
 2.จงอธิบายความสำคัญของอินเทอรเน็ตทางด้านการศึกษา
 ตอบ อินเทอร์เน็ตทำให้ผู้เรียนมีโอกาสได้รับความรู้ใหม่ ได้เรียนรู้วัฒนธรรมที่หลากหลาย เรียนรู้ประสบการณ์จากสภาพความเป็นจริงของโลกปัจจุบัน เกิดทักษะความคิดขั้นสูงและเป็นการช่วยเพิ่มแรงจูงใจในการเรียนรวมถึงเป็นการฝึกให้เกิดทักษะการเขียนด้วยเหตุผลสนับสนุนดังต่อไปนี้
1 การศึกษาวัฒนธรรมที่หลากหลาย
2 เรียนรู้ประสบการณ์จากสภาพที่เป็นจริง
3 การเพิ่มทักษะการคิดอย่างมีระบบ
4 สร้างแรงจูงใจให้มีทักษะในการเขียน
3.จงบอกประโชยน์ของอินเทอร์เน็ตที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
 ตอบ    -อินเตอร์เน็ต สามารถทำให้ให้เราค้นหาข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว และได้ข้อมูลที่มีการอัพเด็ต มีความทันสมัย
เราใช้อินเตอร์เน็ตในการติดต่อสื่อสาร ในการอ่านข่าว และใช้ในการเรียนรู้ข้อมูลอื่นๆๆ ที่มีอยู่ทั่วทุกมุมโลก
         -สามาถนำมาใช้ค้นคว้าหาข้อมูล เพื่อการเรียนได้ง่ายขึ่น หรืออ่านข่าวสาร และทำธุกิจได้หลายอย่าง เพื่อความสะดวกรวดเร็ว เช่น การส่ง e-mail แทนการส่งจดหมาย และทำให้เรารู้อะรได้มากมายบนโลกของเรา
 4.การติดต่อโดยใช้สายโทรศัพท์ผ่านอุปกรณ์ Modem หมายความว่าอย่างไร
ตอบ    ย่อมาจากคำ modulator - demodulator หมายถึง อุปกรณ์ที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อการสื่อสารติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์อื่น ๆ ในระยะไกลโดยผ่านทางสายโทรศัพท์ เป็นตัวกล้ำและแยกสัญญาณแอนะล็อก (analog) และดิจิทัล (digital) ความเร็วในการทำงานของโมเด็มมีตั้งแต่ 1,200, 2,400, 9,600 และ 14,400 การจะใช้โมเด็มนั้น ต้องใช้ซอฟต์แวร์ร่วมด้วย การรับข้อมูลจากระบบเครือข่ายก็ต้องมีโมเด็ม โมเด็มนั้นอาจจะทำติดมาอยู่ภายในตัวเครื่อง หรือนำมาติดเพิ่มภายหลังก็ได้
 5.ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต www มีประโชยน์อย่างไร
ตอบ   1.  สามารถแชร์ข้อมูลใช้ร่วมกันได้  ข้อมูลต่างๆในแต่ละเครื่องภายในระบบ  หากมีผู้อื่นต้องการใช้  คุณสามารถแชร์ให้ผู้อื่นนำไปใช้ได้ หรือข้อมูลที่เป็นส่วนรวมก็สามารถแชร์ไว้เพื่อให้หลายๆฝ่ายนำไปใช้งานได้  ซึ่งก็จะช่วยทำให้ประหยัดเนื้อที่ในการจัดเก็บและช่วยให้การปรับปรุงข้อมูลในระบบง่ายขึ้นและไม่เกิดความขัดแย้งของข้อมูลด้วย เพราะข้อมูลมีอยู่ชุดเดียว
 2.  สามารถแชร์อุปกรณ์ต่างๆร่วมกันได้  เช่น เครื่องพิมพ์  สแกนเนอร์  ซิปไดร์ฟ  เป็นต้น  โดยที่ไม่จำเป็นต้องซื้ออุปกรณ์เหล่านั้นมาติดตั้งกับทุกๆเครื่อง  เช่นในบ้านคุณมีเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งหมด 4 เครื่อง  อาจจะซื้อเครื่องพิมพ์มาเพียงตัวเดียวและแชร์เครื่องพิมพ์นั้นเพื่อใช้ร่วมกันได้
 3.  สามารถใช้โปรแกรมร่วมกันหลายๆเครื่องได้  เช่น  ในห้อง LAB  คอมพิวเตอร์ที่มีจำนวน คอมพิวเตอร์ที่มีจำนวนเครื่องในระบบจำนวน  30 เครื่อง  คุณสามารถซื้อโปรแกรมเพียงแค่ 1 ชุดและสามารถใช้งานร่วมกันได้  ซึ่งจะทำให้สะดวกในการดูแลรักษาด้วย
 4.  การสื่อสารในระบบเครือข่ายผู้ใช้สามารถเชื่อมกับเครื่องอื่นๆในระบบได้  เช่น  อาจจะส่งข้อความจากเครื่องของคุณไปยังเครื่องของคนอื่นๆได้  นอกจากนี้คุณยังสามารถใช้ E - Mail ส่งข้อความข่าวสารต่างๆภายในสำนักงานได้อีก  เช่น  แจ้งกำหนดการต่างๆแจ้งข้อมูลต่างๆให้ทุกๆคนทราบ  โดยไม่ต้องพิมพ์ออกทางเครื่องพิมพ์เพื่อแจกจ่าย  ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายได้อีกทางหนึ่ง
 5.  การแชร์อินเทอร์เน็ต  ภายในระบบเครือข่ายคุณสามารถแชร์อินเตอร์เน็ตเพื่อใช้ร่วมกันได้  โดยที่คุณไม่จำเป้นต้องซื้อ Internet  Account สำหรับทุกๆเครื่องและไม่จำเป็นต้องติดตั้งโมเด็มทุกเครื่อง  ซึ่งก็จะช่วยให้คุณประหยัดค่าใช้จ่ายได้มาก
 6. เพื่อการเรียนรู้ การที่คุณได้ทดลองใช้งานระบบเครือข่ายจะทำให้คุณสามารถเรียนรู้และคุ้นเคยกับระบบเครือข่ายมากขึ้น
ทำให้คุณมีประสบการณ์ในระบบเครือข่ายมากขึ้นและจะทำให้คุณรู้สึกว่ามันไม่ใช่เรื่องยากเลย
 6.จงยกตัวอย่างประโชยน์ของ E-mail
 ตอบ           1. มีความสะดวกรวดเร็ว
                   2. ประหยัดค่าใช้จ่าย
                   3. ไม่จำกัดระยะทาง
                   4. ไม่จำกัดรูปแบบของข้อมูล
                   5. ถ้าเราจะส่งอีเมล์ไม่ว่าจะตอนไหนก็ส่งได้ทุกเวลา
                   6. ติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นได้อย่างหลากหลาย





คำถามท้ายบทที่ 7

1.จงอธิบายเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบต่าง ว่ามีกี่ประเภท
ตอบ  ประเภทของเครือข่ายคอมพิวเตอร์
  เครือข่ายสามารถจำแนกออกได้หลายประเภทแล้วแต่เกณฑ์ที่ใช้ เช่น ขนาด ลักษณะการแลกเปลี่ยนข้อมูลของคอมพิวเตอร์ เป็นต้น โดยทั่วไปการจำแนกประเภทของเครือข่ายมีอยู่ 3 วิธีคือ
       1. LAN (Local Area Network) : ระบบเครือข่ายระดับท้องถิ่น
       2. MAN (Metropolitan Area Network) : ระบบเครือข่ายระดับเมือง
       3. WAN (Wide Area Network) : ระบบเครือข่ายระดับประเทศ หรือเครือข่ายบริเวณกว้าง
2.อินทราเน็ต หมายความว่าอย่างไร
ตอบ   อินทราเน็ต (intranet) คือ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบภายในองค์กร ใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต ในการใช้งานอินทราเน็ตจะต้องใช้โพรโทคอล IP เหมือนกับอินเทอร์เน็ต สามารถมีเว็บไซต์และใช้เว็บเบราว์เซอร์ได้เช่นกัน รวมถึงอีเมล ถ้าเราเชื่อมต่ออินทราเน็ตของเรากับอินเทอร์เน็ต เราก็สามารถใช้ได้ทั้ง อินเทอร์เน็ต และ อินทราเน็ต ไปพร้อม กัน แต่ในการใช้งานนั้นจะแตกต่างกันด้านความเร็ว ในการโหลดไฟล์ใหญ่ จากเว็บไซต์ในอินทราเน็ต จะรวดเร็วกว่าการโหลดจากอินเทอร์เน็ตมาก ดังนั้นประโยชน์ที่จะได้รับจากอินทราเน็ต สำหรับองค์กรหนึ่ง คือ สามารถใช้ความสามารถต่าง ที่มีอยู่ในอินเทอร์เน็ตได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
3.จงยกตัวอย่างแหล่งข้อมูลการสืบค้นบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
ตอบ 1. ที่อยู่ของเว็บไซต์ที่ต้องการค้น ในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เราสามารถติดต่อได้กับคนทั่วโลกอย่างไม่มีขอบ เขต สามารถเข้าถึงระบบสารสนเทศต่าง ข้อมูลต่างๆ ที่ได้รับก็มีอยู่มากมาย ซึ่งผู้ใช้ข้อมูลจำเป็นต้องเรียนรู้การเลือกข้อมูล ให้ได้ตรงกับความต้องการ ดังนั้น ผู้ใช้ข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตจึงจำเป็นต้องทราบที่อยู่ของผู้ให้ บริการข้อมูล นั่นก็คือ ทราบ Url หรือ Address ของผู้ให้บริการข้อมูลนั่นเอง
2. รู้จักวิธีการค้นข้อมูล
3. รู้จักวิธีการอ่านผลการสืบค้น หลัง จากที่ได้เริ่มต้นทำการพิมพ์คำที่ต้องการค้นหา หรือ เลือกรายการหมวดหมู่เมนูการค้น ผู้ค้นข้อมูลจะต้องติดตามผลการค้นจนกว่าจะได้ข้อมูลครบตามที่ต้องการ สำหรับ ผู้ให้บริการค้นข้อมูลก็จะต้องอำนวยความสะดวก ทั้งการจัดทำหน้าจอสำหรับการ สืบค้น และการจัดลำดับหัวข้อเรื่องให้กับผู้ใช้บริการด้วย
4. รู้จักวิธีการจัดเก็บผลการสืบค้น
5. รู้วิธีการเผยแพร่การสืบค้น
4.จงอธิบายวิธีการสืบค้นข้อมูลจากเว็บไซต์ Google พอสังเขป
ตอบ กาารสืบค้นข้อมูลด้วย Search Engine
เสิร์ชเอนจิน (search engine) หรือ โปรแกรมค้นหาและคือ โปรแกรมที่ช่วยในการสืบค้นหาข้อมูล โดยเฉพาะข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต โดยครอบคลุมทั้งข้อความ รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว เพลง ซอฟต์แวร์ แผนที่ ข้อมูลบุคคล กลุ่มข่าว และอื่น ซึ่งแตกต่างกันไปแล้วแต่โปรแกรมหรือผู้ให้บริการแต่ละราย เสิร์ชเอนจินส่วนใหญ่จะค้นหาข้อมูลจากคำสำคัญ (คีย์เวิร์ด) ที่ผู้ใช้ป้อนเข้าไป จากนั้นก็จะแสดงรายการผลลัพธ์ที่มันคิดว่าผู้ใช้น่าจะต้องการขึ้นมา ในปัจจุบัน เสิร์ชเอนจินบางตัว เช่น กูเกิลจะบันทึกประวัติการค้นหาและการเลือกผลลัพธ์ของผู้ใช้ไว้ด้วย และจะนำประวัติที่บันทึกไว้นั้น มาช่วยกรองผลลัพธ์ในการค้นหาครั้งต่อ ไป
ตัวอย่าง Web Search Engine
          1. http://www.google.co.th/
          2. http://www.youtube.com/
          3. http://dict.longdo.com
การสืบค้นเว็บไซต์ข้อมูลด้วย Search Engine
ขั้นตอนการสืบค้นเว็บไซต์ข้อมูลด้วย Search Engine

1. ทำการเปิดเว็บไซต์ที่ให้บริการ http://www.google.co.th/
2. เลือกหัวข้อที่ต้องการค้น ในที่นี้จะเลือกหัวข้อเว็บ
3. พิมพ์ keyword (ข้อความ) ที่ต้องการสืบค้นลงในช่อง text box
4. กดที่ปุ่มค้นหา
5. ระบบจะทำการค้นหาเว็บไซต์ที่ตรงกับ keyword ที่ต้องการ และแสดงออกมาในรูปแบบของลิ้งค์พร้อมคำอธิบายประกอบ

5.Digital library หมายความว่าอย่างไร
 ตอบ   ห้องสมุดดิจิตอล
6.จงยกตัวอย่างแหล่งข้อมูลเว็บไซต์ประเภทของการศึกษา
ตอบ      www.kruaree.in.th
         http://www.kruaree.in.th
เว็บไซต์เพื่อการศึกษา สำหรับเผยแพร่หลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง สวนสวยด้วยสองมือ  สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  สื่อการเรียนการสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ผลงานครู ผลงานนักเรียน และเนื้อหา


 คำถามท้ายบทที่

1.ให้หาบทความเกี่ยวกับการพาณิชย์ อิเล็กทรอนิกส์
 ตอบ     ในปัจจุบันการแข่งขันทางธุรกิจมีมาก ธุรกิจต่างๆ จำเป็นต้องพัฒนาและปรับปรุงกระบวนการขายและภาพลักษณ์บริษัทให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา โดยการนำเอาเทคโนโลยีที่ทันสมัยต่างๆ เข้ามาใช้ในกิจการ เพื่อก่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดต่อการดำเนินธุรกิจ  ซึ่งปัจจุบันเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ต (Internet) ซึ่งเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมต่อกันทั่วทุกมุมโลกและสามารถเข้าถึงได้รวดเร็ว ทุกเวลาส่วนหนึ่งของเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตที่เป็นที่นิยมและได้รับการสนับสนุนจากทั้งภาครัฐบาลและเอกชน ในการนำมาใช้พัฒนาและปรับปรุงกระบวนการขายของกิจการ คือ อีคอมเมิร์ซ (E-Commerce) หรือเรียกเป็นภาษาไทยว่า พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เป็นการจัดการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพาณิชย์ โดยการขายสินค้าผ่านทางเว็บไซต์ (Website)ง ซึ่งการนำเทคโนโลยีนี้มาใช้จะก่อให้เกิด การลดต้นทุน ลดเวลาหรือค่าใช้จ่ายในการเดินทาง เพิ่มช่องทางการตลาดและเพิ่มโอกาสทางธุรกิจรูปแบบของการทำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ในการทำการค้านั้นต้องประกอบด้วยอย่างน้อย 2 ฝ่ายก็คือผู้ซื้อและผู้ขาย ซึ่งผู้ซื้อและผู้ขายนั้น ก็มีหลายๆรูปแบบ ทำให้เราสามารถจัดประเภทของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ออกเป็นประเภทหลักๆ ดังนี้ผู้ประกอบการ กับ ผู้บริโภค (Business to Consumer - B2C) คือการค้าระหว่างผู้ค้าโดยตรงถึงลูกค้าซึ่งก็คือผู้บริโภค เช่น การขายหนังสือ ขายวีดีโอ ขายซีดีเพลงเป็นต้นผู้ประกอบการ กับ ผู้ประกอบการ (Business to Business – B2B) คือการค้าระหว่างผู้ค้ากับลูกค้าเช่นกัน แต่ในที่นี้ลูกค้าจะเป็นในรูปแบบของผู้ประกอบการ ในที่นี้จะรอบคลุมถึงเรื่อง การขายส่ง การทำการสั่งซื้อสินค้าผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ ระบบห่วงโซ่การผลิต (Supply Chain Management) เป็นต้น ซึ่งจะมีความซับซ้อนในระดับต่างๆกันไปผู้บริโภค กับ ผู้บริโภค (Consumer to Consumer - C2C) ในเรื่องการติดต่อระหว่างผู้บริโภคกับผู้บริโภคนั้น มีหลายรูปแบบและวัตถุประสงค์ เช่นเพื่อการติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร ในกลุ่มคนที่มีการบริโภคเหมือนกัน หรืออาจจะทำการแลกเปลี่ยนสินค้ากันเอง ขายของมือสองเป็นต้น ผู้ประกอบการ กับ ภาครัฐ (Business to Government – B2G) คือ การประกอบธุรกิจระหว่างภาคเอกชนกับภาครัฐ ที่ใช้กันมากก็คือเรื่องการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ หรือที่เรียกว่า e-Government Procurement ในประเทศที่มีความก้าวหน้าด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แล้ว รัฐบาลจะทำการซื้อ/จัดจ้างผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์เป็นส่วนใหญ่เพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย เช่นการประกาศจัดจ้างของภาครัฐในเว็บไซต์ www.mahadthai.com หรือการใช้งานระบบอีดีไอในพีธีการศุลกากรของกรมศุลฯ www.customs.go.thภาครัฐ กับ ประชาชน (Government to Consumer -G2C) ในที่นี้คงไม่ใช่วัตถุประสงค์เพื่อการค้า แต่จะเป็นเรื่องการบริการของภาครัฐผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งปัจจุบันในประเทศไทยเองก็มีให้บริการแล้วหลายหน่วยงาน เช่นการคำนวณและเสียภาษีผ่านอินเทอร์เน็ต, การให้บริการข้อมูลประชาชนผ่านอินเทอร์เน็ต เป็นต้น เช่นข้อมูลการติดต่อการทำทะเบียนต่างๆของกระทรวงมหาดไทย ประชาชนสามารถเข้าไปตรวจสอบว่าต้องใช้หลักฐานอะไรบ้างในการทำเรื่องนั้นๆ และสามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มบางอย่างจากบนเว็บไซต์ได้ด้วย
         จากการที่แบ่งประเภทของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ออกเป็นประเภทตามข้างบนนั้น ดังนั้นทำให้สามารถจัดประเภทของช่องทางการติดต่อสื่อสารระหว่างสองฝ่าย ออกได้เป็น 3 ช่องทางคือ
1.   การติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคล ในที่นี้บุคคลจะหมายถึงทั้งองค์กร บริษัท และตัวบุคคล 
การติดต่อนั้นทำผ่านได้ทั้ง รูปแบบของโทรศัพท์ โทรสาร และอีเมล์
2.      การติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคลกับระบบคอมพิวเตอร์ และระหว่างระบบคอมพิวเตอร์กับบุคคล คือการใช้งานระบบอัตโนมัติในการติดต่อสื่อสารนั่นเอง เช่น ตู้ ATM ระบบโทรศัพท์อัตโนมัติ ระบบ FAX Back ระบบส่งอีเมล์อัตโนมัติ เป็นต้น ทั้งนี้เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับลูกค้าเป็นสำคัญ
3.   การติดต่อระหว่างระบบคอมพิวเตอร์ด้วยกันเอง เป็นรูปแบบที่มีความซับซ้อนมากขึ้น 
ในการติดต่อทางธุรกิจ โดยการให้ระบบคอมพิวเตอร์ของทั้งสองฝ่ายทำการติดต่อสื่อสาร แลกเปลี่ยนข้อมูลโดยอัตโนมัติ ตามข้อกำหนดที่ได้ทำการตกลงร่วมกันไว้ อาทิ อีดีไอ ระบบการจัดการห่วงโซ่การผลิต เป็นต้น
ประโยชน์ของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สรุปจากที่ผ่านมานั้นจะพบว่าจะมีข้อที่เป็นประโยชน์ร่วมกันของทั้งผู้ซื้อ ผู้ขาย ผู้ผลิตอยู่ 3 ประเด็นคือ ประหยัดค่าใช้จ่าย ลดค่าใช้จ่ายบุคลากรบางส่วน ลดขั้นตอนการประกอบธุรกิจ ประหยัดค่าใช้จ่ายในการติดต่อแบบเดิมๆไม่มีข้อจำกัดด้านสถานที่ สามารถเข้าถึงลูกค้าได้ทั่วโลก (หมายความว่าต้องสร้างเว็บไซต์ให้มีข้อมูลเป็นภาษาสากลหรือภาษาที่กลุ่มลูกค้าเป้าหมายของเราใช้มากๆ เช่นภาษาจีน ญี่ปุ่น เป็นต้น)ไม่มีข้อจำกัด้านเวลา สามารถทำการค้าได้ 24 ชั่วโมง 7 วัน ผ่านระบบอัตโนมัติประโยชน์สำหรับผู้ซื้อ/ผู้บริโภคหาข้อมูลเพื่อเปรียบเทียบเรื่องราคา คุณภาพสินค้าและข้อมูลอื่นๆเพื่อประกอบการตัดสินใจซื้ออินเทอร์เน็ตมีประโยชน์มากในเรื่องนี้ สามารถเข้าไปในเว็บบอร์ดต่างในการหาข้อมูลได้ง่ายมีร้านค้าให้เลือกมากขึ้น  พียงแค่พิมพ์คีย์เวิร์ดลงในเครื่องมือค้นหาก็มีสินค้าออกมาให้เลือกมากมายได้รับสินค้าอย่างรวดเร็ว ในกรณีที่ซื้อสินค้าที่จับต้องไม่ได้ เพราะสามารถได้รับสินค้าผ่านทางอินเทอร์เน็ตได้เลยสินค้าบางอย่างสามารถลดพ่อค้าคนกลางได้ ทำให้ได้ราคาที่ถูกลง คงไม่ใช่กับทุกสินค้าหรือทุกผู้ผลิตที่มีความต้องการมาทำการขายเอง อาจจะได้กับสินค้าบางชนิดลดความผิดพลาดในการสื่อสาร จากเดิมที่ในการค้าต้องส่งแฟกซ์ หรือบางทีบอกจดทางโทรศัพท์ รับใบคำสั่งซื้อแล้วมาคีย์เข้าระบบ ถ้าสามารถทำการติดต่อกันผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ส่งข้อมูลกันได้เลยจะช่วยลดความผิดพลาดในส่วนนี้ไปได้ ลดเวลาในการผลิต นำเอาเทคโนโลยีมาช่วยในการคำนวณเรื่องความต้องการวัตถุดิบ การทำคำสั่งซื้อวัตถุดิบเพิ่มประสิทธิภาพในระบบสำนักงานส่วนหลังเปิดตลาดใหม่ หาคู่ค้า ซัพพลายเออร์รายใหม่เพิ่ประสิทธิภาพการจัดการสินค้าคงคลังเพิ่มความสัมพันธ์กับคู่ค้าให้ดีขึ้นสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเว็บไซต์ของบริษัท โดยการสร้างข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อลูกค้า การให้บริการหลังการขายให้คำปรึกษาเรื่องผลิตภัณฑ์ หรือการแก้ไขเบื้องต้นอย่างรวดเร็ว